**-การต่อตัวเก็บประจุ-**

การต่อตัวเก็บประจุแบบอันดับหรืออนุกรม
จากรูป (ก) แสดงการต่อตัวเก็บประจุค่า 2 mF และ 4 mF แบบอันดับ โดยต่อด้านล่างแผ่นเพลตของตัวเก็บประจุ A เข้ากับด้านบนแผ่นเพลตของตัวเก็บประจุ B ดังแสดงในรูป (ข)

      จากการที่ด้านบนแผ่นเพลตของตัวเก็บประจุ A และด้านล่างแผ่นเพลตของตัวเก็บประจุ B ถูกต่อเข้ากับวงจรจึงทำให้แผ่นเพลตที่อยู่บริเวณตรงกลางทั้งสองแผ่นไม่มีผลใดๆ ดังแสดงในรูป (ค) แต่สิ่งที่ได้จากการต่อแบบอันดับนี้ คือ ความหนาของไดอิเล็กตริกที่เพิ่มขึ้น (d ญ) และทำให้ระยะห่างระหว่างแผ่นเพลตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นเส้นแรงแม่เหล็กจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณที่มีแผ่นเพลตรองรับในทิศทางตรงกันข้ามเท่านั้น ซึ่งในที่นี้จะขึ้นอยู่กับแผ่นเพลตที่มีพื้นที่น้อย นั่นคือ แผ่นเพลตของตัวเก็บประจุ A
สรุปได้ว่า เมื่อทำการต่อตัวเก็บประจุแบบอันดับจะทำให้พื้นที่รวมของแผ่นเพลตลดลง (A ฏ) และความหนาของไดอิเล็กตริกเพิ่มขึ้น (d ญ) ส่งผลให้ค่าการเก็บประจุรวมลดลง
การคำนวณหาค่าการเก็บประจุรวมของตัวเก็บประจุที่ต่อกันแบบอันดับ หาได้จากสูตร ดังนี้


สำหรับตัวเก็บประจุ 2 ตัว จะใช้สูตรคำนวณดังนี้

ตัวอย่าง
จงคำนวณหาค่าการเก็บประจุรวม ของวงจรในรูป

ตัวอย่างการต่อตัวเก็บประจุแบบอันดับ

การต่อตัวเก็บประจุแบบขนาน
รูป (ก) แสดงการต่อตัวเก็บประจุ 2 ตัว A และ B ค่า 2 mF และ 4 mF แบบขนาน ส่วนรูป (ข) แสดงการต่อตัวเก็บประจุ A และ B ซึ่งมีค่าคงที่ไดอิเล็กตริก และระยะห่างระหว่างแผ่นเพลตเท่ากันเข้าด้วยกันแบบขนานจะเห็นว่า ทั้งด้านบนและด้านล่างแผ่นเพลตของตัวเก็บประจุทั้งสองถูกต่อเข้าด้วยกัน จึงเสมือนว่าแผ่นเพลตทั้งสองเป็นแผ่นเดียวกัน สรุปได้ว่า ถ้าต่อตัวเก็บประจุแบบขนานจะทำให้พื้นที่ของแผ่นเพลตเพิ่มขึ้น และเนื่องด้วยค่าการเก็บประจุเป็นสัดส่วนโดยตรงกับพื้นที่ของแผ่นเพลต ดังนั้น จึงส่งผลให้ค่าการเก็บประจุเพิ่มขึ้นด้วย

ค่าการเก็บประจุรวม คำนวณจากการรวมพื้นที่ของแผ่นเพลตทุกแผ่นรวมกัน ดังนั้นค่าการเก็บประจุรวมของตัวเก็บประจุที่ต่อกันแบบขนานจึงเท่ากับผลรวมของค่าการเก็บประจุของตัวเก็บประจุทุกตัว

... CopyRight ©2007 - Presented Dekbaba TEam ....