การนำไฟฟ้าในเส้นลวดโลหะ

การนำไฟฟ้าในเส้นลวดโลหะ
การนำไฟฟ้าในหลอดไดโอด
การนำไฟฟ้าในสารละลายอิเลคโตรไลต
การนำไฟฟ้าในหลอดบรรจุกาซ
การนำไฟฟ้าในสารกึ่งตัวนำ

การนำไฟฟ้า

    เนื่องจากกระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า  ซึ่งประจุไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ได้ในตัวกลางหลายๆ
  ชนิด เรียกสมบัติของตัวกลางที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านได้ว่า
 “ตัวนำไฟฟ้า” ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าในตัวนำ 
  แสดงว่า
มีการนำไฟฟ้า

2  การนำกระแสไฟฟ้าในโลหะ

      1 โลหะทุกชนิดเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี   เนื่องจากมี  “อิเล็กตรอนอิสระ” (Free electron)   โดยอิเล็กตรอน เหล่านี้จะเคลื่อนที่โดยเสรีไม่เป็นระเบียบ    ไม่มีทิศทางแน่นอน    เรียก  การเคลื่อนที่แบบ  Brownian”  ดังนั้นความเร็วเฉลี่ยของอิเล็กตรอนอิสระทุกตัวจึงเป็นศูนย์     แต่เมื่อทำให้ปลายทั้งสองของแท่งโลหะมีความต่างศักย์
  ไฟฟ้า
  เช่น    ต่อไว้กับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า   จะทำให้เกิดสนามไฟฟ้าภายในแท่งโลหะ    แรงจากสนามไฟฟ้า   จะทำให้อิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่อย่างเป็นระเบียบ   โดยมีความเร็วเฉลี่ยไม่เป็นศูนย์   เรียกว่า ความเร็วลอยเลื่อน” 
  (drift   velocity)    จึงมีกระแสไฟฟ้าในแท่งโลหะ    ดังนั้น   กระแสไฟฟ้าในโลหะจึงเกิดจากการเคลื่อนที่ของ อิเล็กตรอนอิสระหรือเกิดจากการไหลของประจุลบ

 

 

 

 

 

 

 

 

เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่่านเส้นลวด

เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเส้นลวด

ไปหน้า 2