แหล่งกำเนิดไฟฟ้าแบบคู่ควบความร้อน

Thermocouple นี้ประกอบไปด้วยโลหะสองชิ้นมาประกบกัน คุณสมบัติของเจ้า Thermo couple นี้คือ ความต่างศักย์ที่วัดได้จากปลายทั้งสองงข้างของ Thermocouple นั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่จุดต่อระหว่างสองโลหะ Thermocouple มีความแม่นยำ และความต่างศักย์ที่เปลี่ยนแปลงเทียบกับอุณหภูมิก็ค่อนข้างที่จะตรง จึงเป็นที่นิยมใช้ และยังสามารถวัดได้ตั้งแต่ ประมาณ -250C ถึง 1500C ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของ Thermocouple ด้วย Thermocouple มีหลายชนิด (type) แต่ละ type ก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการเลือกใช้ชนิดของ Thermocouple ก็มีความสำคัญ เพราะต้องเลือกให้เหมาะกับชนิดของงานที่ใช้ และผมก็มีตารางคุณสมบัติของ Thermocouple แต่ละ Type อยู่ ก็อยู่ข้างล่างนี้นะครับ
เทอร์โมคัปเปิลแบบ s (Thermocouple Type S)
• สายลบทำจาก พลาตินัม สายบวกทำจากโลหะผสม 90% ของพลาตินัม + 10% ของโรเดียม
• วัดอุณหภูมิได้ดีที่ -50 -1768 องศาเซลเซียส
• ใช้งานในสภาวะที่เป็น Oxidizing และ Inert ได้ดี
• ไม่เหมาะกับงานที่เป็น Reducing ,Vacuum และสภาพงานที่มีไอของโลหะ

เทอร์โมคัปเปิลแบบ R (ThermocoupleType R)
• สายลบทำจาก พลาตินัม สายบวกทำจากโลหะผสม 87% ของพลาตินัม + 13% ของโรเดียม
• วัดอุณหภูมิได้ดีที่ -50 -1768 องศาเซลเซียส
• ใช้งานในสภาวะที่เป็น Oxidizing และ Inert ได้ดี
• ไม่เหมาะกับงานที่เป็น Reducing ,Vacuum และสภาพงานที่มีไอของโลหะ
• คุณสมบัติเหมือนกับ Type S เกือบทุกอย่าง แตกต่างกันที่ความต่างศักย์ที่วัดได้จะสูงกว่า Type S

เทอร์โมคัปเปิลชนิด B (Thermocouple Type B)
• สายลบทำจาก พลาตินัม 94% + โรเดียม 6% สายบวกทำจาก พลาตินัม 70% + โรเดียม 30%
• ช่วงการวัดอุณหภูมิอยู่ที่ 50 – 1820 องศาเซลเซียส
• ใช้งานได้ดีที่อุณหภูมิสูง ในสภาวะที่เป็น Oxiding หรือ Inert
• ไม่เหมาะกับงาน Reducing หรือ Vacuum และงานที่ไอของโลหะและอโลหะ เช่นเดียวกับ Type R และ S

เทอร์โมคัปเปิลชนิด J (Thermocouple Type J)
เนื่องจากพลาตินัมมีราคาสูง จึงมีการหาธาตุอื่นๆมาทำ เทอร์โมคัปเปิล เช่น เหล็ก นิเกิล เป็นต้น
• สายบวกทำด้วยเหล็ก และสายลบทำด้วย Constantan (60%ของทองแดง + 40%นิเกิล)
• ช่วงการวัดอุณหภูมิอยู่ที่ -210 – 1200 องศาเซลเซียส
• เหมาะกับงานที่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก ใช้ได้ในสภาพที่เป็น Vacuum,Oxiding,Reducingหรือ Inert
• ไม่เหมาะกับงานที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 และอุณหภูมิสูงกว่า 760 องศาเซลเซียส

เทอร์โมคัปเปิ้ลชนิด K (Thermocouple Type K)
พัฒนามาจากชนิด J เป็นชนิดที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด เพราะ ช่วงการวัดกว้างและสามารถวัดได้ในหลายสภาพแวดล้อม
• สายบวกทำจาก นิเกิล 10% + โครเมียม 90% สายลบทำจาก นิเกิล 95% + อลิเนียมแมงกานีสและซิลิกอน 5%
• ช่วงการวัดอุณหภูมิอยู่ที่ -270 – 1372 องศาเซลเซียส
• ใช้ได้ดีสนสภาพที่เป็น Oxidizing และ Inert สภาพที่ต้องรับการแผ่รังสีโดยตรง
• ไม่เหมากับงานที่เป็น Reducing , งานที่มีไอของ ซัลเฟอร์ และงานที่เป็น Vacuum

เทอร์โมคัปเปิลชนิด E (Thermocouple Type E)
พัฒนาต่อมาจาก Type J จึงมีคุณสมบัติคล้ายกับ Type J,K
• สายบวกทำจาก โคเมียยม 90% + นิเกิล 10% สายลบทำจาก Constantan(60%ของทองแดง + 40%นิเกิล)
• ช่วงการวัดอุณหภูมิอยู่ที่ -270 – 1000 องศาเซลเซียส
• เหมาะกับงานที่เป็น Oxidizing
• ไม่เหมาะกับงานที่เป็น Reducing , งานที่มีไอของ ซัลเฟอร์ และงานที่เป็น Vacuum เช่นเดียวกับ Type K

จุดต่อสำหรับแบบ Grounded สายทั้งคู่ของ เทอร์โมคัปเปิลถูกื่อมต่อลงบนปลาย sheath (Grounded Junction) เหมาะสำหรับงานที่เป็นแบบstatic หรือ Fluid ที่เป็นสารกัดกร่อนให้ผลการตอบสนองไวกว่าแบบ Under Grounded Junction ทนต่อสภาพงานที่มีแรงดันสูงได้

แหลงกำเนิดไฟฟ้าจากสิ่งมีชีวิต

 

กระเบนไฟฟ้า (Electric ray) เป็นกระเบนที่ มีรูปร่างกลม และมีสร้างโดย iLLuSioNอวัยวะคู่หนึ่งที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ โดยความแรงมีตั้งแต่ระดับต่ำเพียง 8 โวลต์ไปจนถึง 220 โวลต์ ขึ้นอยู่กับสปีชี่ส์ กระแสไฟฟ้านี้ใช้เพื่อทำให้เหยื่อสลบหรือฆ่าเหยื่อ กระเบนชนิดนี้มีอยู่ 4 วงศ์ ประกอบด้วย 69 สปีชี่ส์

กระเบนไฟฟ้ากลุ่มที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ จีนัส Torpedo ซึ่งมักถูกเรียกว่า crampfish หรือ numbfish ชื่อจีนัสมาจากภาษาละตินว่า "torpere" หมายถึง ทำให้แข็งทื่อหรือชา ซึ่งเป็นอาการของคนที่สัมผัสหรือเหยียบกระเบนไฟฟ้าที่ยังมีชีวิต

 

สิ่งมีชีวิตบ้างชนิดอันได้แต่ ปลาไหลไฟฟ้า แมงกะพรุนบางชนิด สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าให้ไหลจากตังเอง โดยทำฝห้บ้างส่วนของตัวเองให้เป็นขั้วบวก และบ้างส่วนของตัวเองให้เป็นขั้วลบ พร้อมกันไป เพือประโยชนในการจับส่ิงมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร หรือเพื่อทำร้ายศัตูรที่เข้ามาใกล้ เช่น ปลาไหลไฟฟ้าไมคาของลุ่มแม่น้ำอะเมซอนเห็นว่าหัวเป็นบวก(+) หางเป็นลบ(-) ดัง ภาพการทดสอบไฟฟ้าของปลาไหล เช่น  ปลาไหลไฟฟ้า  สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้  เมื่อมันตกใจศัตรู  โดยมีเซลล์พิเศษ  สามารถทำให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างหัวกับหางของมัน   ซึ่งบางครั้งอาจมีความต่างศักย์สูงเป็นร้อยๆ โวลต์  นอกจากปลาไหล แล้วมนุษย์ยังสามารถสร้างให้จุดคู่ชีพจรต่างๆ มีความหน้าต่างได้อีกด้วยมนุษย์ด้วย    ถ้าวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุดบนร่างกายของมนุษย์     เช่น    ที่แขนและขา  จะพบว่า มีความต่างศักย์ไฟฟ้าเกิดขึ้นทุกครั้งที่หัวใจเต้น จากความรู้นี้ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องช่วยหัวใจที่เรียกว่า   “อิเล็กโทรคาร์ดิโอกราฟ”  (electrocardiograph)  ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถวิจัยโรคหัวใจได้อย่างถูกต้อง

กลับไปหน้าของไฟฟ้ากรแสตรง