วัตถุต่างๆเมื่อถูกทำให้สั่นหรือแกว่ง แล้วปล่อยให้สั่นหรือแกว่งต่อไปอย่างอิสระ มั่นจะสั่นหรือแกว่งด้วยความถี่ค่าหนึ่ง ความถี่ในการแกว่งหรือสั่นอย่างอิสระนี้ เรียกว่า  ความถี่ธรรมชาติ (Natural Frequency) ของวัตถุนั้นๆ วัตถุต่างๆจะมีความถี่ธรรมชาติเฉพาะตัวทั้งสิ้น ความถี่ธรรมชาติของระบบหนึ่งอาจมีเพียงค่าเดียวหรืออาจมีได้หลายๆค่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของระบบ และลักษณะการสั่น


ปรากฏการณ์ที่มีแรงกระทำให้วัตถุสั่นหรือแกว่งโดยความถี่ของแรงที่ทำให้วัตถุสั่นหรือแกว่งเท่ากับความถี่ธรรมชาติของวัตถุนั้น เรียกว่า การสั่นพ้อง (Resonance) ในกรณีที่เกิดการสั่นพ้องนี้ การสั่นของวัตถุจะมีแอมพลิจูดของการสั่นมากที่สุดเมื่อเทียบกับการสั่นด้วยความถี่อื่นๆ

 

      การสั่นพ้องของเสียง
ถ้าปล่อยเสียงจากลำโพงเข้าไปในท่อถ้าความถี่ของเสียงจากลำโพงมีค่าเท่ากับความถี่จากธรรมชาติของอากาศในหลอดพอดี จะทำให้เราได้ยินเสียงดังมากกว่าปกติออกมาจากหลอด ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า การสั่นพ้องของเสียง เช่น การสั่นพ้องของการเป่าลมจากขวดเปล่า หรือสั่นพ้องในท่อกลวง เป่าเขาสัตว์ หรือนกหวีด
สำหรับการสั่นพ้องของเสียงเมื่อให้เสียงจากแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่เข้าไปในหลอดเรโซแนนซ์ จะพบว่าคลื่นเสียงที่เคลื่อนที่จากลำโพงเข้าไป และคลื่นเสียงที่สะท้อนจากลูกสูบ จะเกิดการซ้อนทับกัน เกิดเป็นคลื่นนิ่งจากการแทรกสอดขึ้นมาภายในหลอดเรโซแนนซ์ ซึ่งขณะที่เกิดการสั่นพ้องเราจะได้ยินดังกว่าปกติออกมาจากปากหลอด

  1. ตรงปากหลอดจะเป็นตำแหน่งปฏิบัพของการกระจัด หรือตำแหน่งบัพของความดัน
  2. ตรงจุดสะท้อนจะเป็นตำแหน่งบัพของการกระจัด หรือตำแหน่งปฏิ-บัพของความดัน

หมายเหตุ
  โดยทั่วไปคลื่นนิ่งในหลอดเรโซแนนซ์มักจะถูกเขียนแทนด้วยคลื่นกระจัดเสมอ