การสั่นพ้องของเสียงในหลอดเรโซแนนซ์ จะแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1  การสั่นพ้องในหลอดยาวไม่คงที่ ซึ่งแบ่งเป็น

  1. การสั่นพ้องในหลอดปลายปิด (ปิด 1 ข้าง เปิด 1 ข้าง)  
  2. การสั่นพ้องในหลอดเปิด (ปลายปิดทั้ง 2 ข้าง)

 กรณีที่ 2   การสั่นพ้องในหลอดยาวคงที่ ซึ่งแบ่งเป็น

กรณีที่ 1 การสั่นพ้องในหลอดที่มีความยาวไม่คงที่ (กรณีนี้ต้องใช้เสียงที่มีความถี่คงที่)

  1. การสั่นพ้องจากหลอดปลายปิด  (ปลายเดด้านหนึ่ง)

เมื่อเลื่อนลูกสูบออกจากปากหลอดจนกระทั่งได้ยินเสียงดังกว่าปกติจากปากหลอด ขณะนั้นจะเกิดการสั่นพ้องของเสียงในหลอดเรโซแนนซ์ ตรงตำแหน่งของลูกสูบจะเป็นบัพของการกระจัด และบริเวณปากหลอจะเป็นปฏิบัพของการกระจัด

 

                              ข.   การสั่นพ้องจากหลอดปลายเปิดทั้งสองด้าน

 

 หมายเหตุ การรียกความถี่ของคลื่นนิ่งในหลอดเรโซแนนซ์มีการเรียกได้หลายแบบ

  1. ความถี่มูลฐาน หรือ ความถี่หลัก (Fundamental) คือ ความถี่ต่ำสุดของคลื่นนิ่งที่จะเกิดการสั่นพ้องได้ หรือ ความถี่ของการสั้นพ้องครั้งแรก
  2. ความถี่โอเวอร์โทน (Overtone) คือ ความถี่ของคลื่นนิ่งที่ถัดจากความถี่มูลฐาน สำหรับกรณีของคลื่นนิ่งในหลอดเรโซแนนซ์ โอเวอร์โทนจะมีค่าเท่ากับจำนวน loop ของคลื่นนิ่ง
  3. ความถี่ฮาร์มอนิก (Harmonic) คือ ตัวเลขที่บอกให้ทราบว่าความถี่ขณะนั้นเป็นกี่เท่าของความถี่มูลฐาน